ประเพณีฟ้อนผี
หนึ่งในประเพณีที่สำคัญตามวิถีชีวิตของคนล้านนา
เนื่องจากดินแดนแถบภาคเหนือตอนบนมีวัฒนธรรมการดำรงชีวิตที่เกี่ยวข้องกับผี
และนับถือผี จึงมีผีหลายประเภท เช่น ผีเม็ง คือ ผีบรรพบุรุษ ผีประจำตระกูล
ผีบ้านผีเรือน ผีเจ้าป่าเจ้าดอย ผีเจ้าที่ ผีเสื้อวัด ผีเจ้าบ้าน ผีเจ้า ผีนาย เป็นต้น ผีที่กล่าวมาเป็นผีดี
ที่ชาวบ้านนับถือและยกย่องเคารพบูชา การจะทำการใดต้องทำพิธีขอขมาทุกครั้ง และบอกกล่าวให้ทราบ
และประเพณีฟ้อนผีเป็นส่วนหนึ่งของการบูชาผีบรรพบุรุษให้พอใจและคุ้มครองลูกหลาน ด้วยทำให้ผีบรรพบุรุษพอใจด้วยการจัดงานรื่นเริง
การฟ้อนผี จึงเป็นอีกวิธีการหนึ่ง ของการรวมญาติ เพราะคนในสมัยก่อนมักไม่มีเวลามาเจอกัน มีสาเหตุหลายประการเชาน ต้องทำงาน บ้านอยู่ห่างไกลกัน การฟ้อนผีจึงเป็นการรวมญาติ ทุกคนในสายตระกูลต้องการเจอกันและร่วมกันช่วยงาน จึงเป็นการสร้างความสัมพันธ์ในหมู่ญาติให้คงอยู่
การฟ้อนผีจึงไม่ใช่สิ่งที่งมง่ายตามที่คนภายนอกมองวัฒนธรรมของล้านนา
ในทางตรงกันข้าม เป็นการแสดงถึงความกตัญญูของชาวบ้านที่เคารพในบรรพบุรุษของตนและไม่ลืมรากเหง้าความเป็นคนไทยล้านนา สืบสานวัฒธรรฒท้องถิ่นให้คงอยู่ต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น